จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่ามีการนำไข่มุกมาใช้ประโยชน์มากมาย ที่เด่นชัดคือการนำมารับประทาน เนื่องจากพบว่าแคลเซียมในไข่มุกสามารถช่วยรักษาโรคกระดูกพรุน และยังช่วยเสริมเสริมธาตุแคลเซียมสำหรับผู้ที่มีปัญหาแคลเซียมต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการนำไข่มุกมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงผิวพรรณด้วยเช่นกันจากการสืบค้นข้อมูลการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ จึงเป็นการยืนยันว่าไข่มุกมีประโยชน์ในด้านการช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวและยังมีคุณสมบัติด้านการชะลอริ้วรอยตามวัยได้ นอกจากนี้มีผลการศึกษาวิจัยว่าไข่มุกสามารถใช้ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติได้โดยเฉพาะ Atopic dermatitis โดยช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวชั้น Epidermis ทำให้ผิวหนังมีความแข็งแรงและส่งผลให้ผิวมีความกระชับมากขึ้น จากผลการศึกษาของ รายงานว่าผลิตภัณฑ์ตำรับบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของผงหอยมุกสามารถช่วยลดกระบวนการเสื่อมของเซลล์ผิว โดยพบว่าสามารถช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดการเสื่อมของผิวหนังได้ นอกจากนี้จากการศึกษาของทางการแพทย์แผนจีนจะได้พิสูจน์ถึงประโยชน์ของไข่มุกกับการชะลอวัยของผิวพรรณแล้ว ยังพบว่ามีคุณสมบัติในการลดผลกระทบของรังสียูวีต่อผิวได้ เมื่อนำไข่มุกมาทดสอบในหนูพบว่าสามารถช่วยให้การทำงานของเยื่อประสานใต้ผิวหนังยึดติดกันได้แน่นหนามากขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังมีความคงทน แข็งแรงและตึงกระชับมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของคอลลาเจนใต้ผิวหนังช่วยให้บาดแผลประสานกันเร็วขึ้น
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีขอหมมุก
สารประกอบทางเคมีของมุกเลี้ยงจะเหมือนกับมุกแท้ในธรรมชาติ โดยมีสัดส่วนต่างๆ ดังนี้
- แคลเซียมคาร์บอเนต ร้อยละ 91.6
- สารประกอบอินทรีย์ ร้อยละ 4
- น้ำ ร้อยละ 4
- สารอื่นๆ ร้อยละ 0.4
เปลือกหอยมุกเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นแมนเทิล (Mantle) โดยเซลล์บุผิวชั้นนอกจะสร้างหินปูนในรูปของอะราโกไนติ์ (Aragonite) สร้างผลึกหินปูนรูปหกเหลี่ยมและอินทรีย์สารที่เรียกว่า คอนไคอะลิน (Conchiolin) ที่มีลักษณะคล้ายเคอราทิน โครงสร้างมุกมีแผ่นแคลเซียมคาร์บอเนตชนิดอะราโกไนต์เล็กๆวางตัวเรียงสลับกันเป็นชั้นๆคล้ายอิฐโดยมีสารอินทรีย์ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า คอนไคอะลิน ทำหน้าที่ประสานรอยต่อระหว่างแผ่นอะราโกไนต์ โครงสร้างเล็กๆนี้เองที่ทำให้เกิดการหักเหและสะท้อนกลับของแสงมีการเพิ่มและลดช่วงคลื่นแสงภายใน ทำให้เกิดคุณสมบัติการเหลือบ (Orient) บนผิวของชั้นมุก หากแผ่นของอะราโกไนต์ยิ่งบางและเรียงตัวเป็นระเบียบ จะทำให้คุณสมบัติเหลือบมุกและความวาวของมุกดีขึ้น เนื่องจากเกิดการเพิ่มช่วงคลื่นแสงของการหักเหและสะท้อนของแสงภายในชั้นมุก
องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของหอยมุก
1) กรดอะมิโน หอยมุกจะประกอบด้วยสารโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบที่มีชื่อว่า Conchiolin ซึ่งเป็นกรดอะมิโนโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ 20 ชนิดที่สำคัญๆ เช่น Threonine, Serine, Glutamin acid, Glycene และ Arginine เป็นต้น พร้อมด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์โครงสร้างของผิวเช่น Germanium และ Selenium เพื่อช่วยฟื้นฟูผิวที่หยาบ ช่วยผลัดเซลล์ผิว เพิ่มความนุ่มนวลให้แก่ผิวและทำให้ผิวขาวสว่างใสและมีลักษณะคล้ายกับองค์ประกอบของสารให้ความชุ่มชื้น ปัจจัยความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ NMF (Natural moisturizing factor) ในชั้นของผิวหนัง ดังนั้นจึงนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ในงานวิจัยได้ระบุว่าสารสกัดจากโปรตีนหอยมุกจะใช้ส่วนของเปลือกในของหอยมุก Pinctada fucata มาสกัดเนื่องจากในชั้นนี้จะมีกรดอะมิโนและเปปไทด์ ที่สามารถช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ Fibrobrast ที่ผิวหนังและพบว่ายังมีความสามารถช่วยชะลอริ้วรอยที่ชั้นผิวได้ดี ทำให้สามารถต่อต้านริ้วรอยที่ผิวหนังและยังใช้ดูแลเส้นผมได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการผลัดเซลล์และสร้างเซลล์ใหม่ของผิวหนัง ระงับและยับยั้งการสร้างเม็ดสี ปรับผิวขาวใส สามารถใช้ได้จึงสามารถนำมาใช้ได้ทั้งกับผิวหน้าและผิวกาย
2) แคลเซียมคาร์บอเนต ในธรรมชาติมีวัสดุหลายชนิดที่มีส่วนประกอบหลักเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต เช่น ปะการัง เปลือกไข่ เปลือกหอย ซึ่งมีรายงานว่าเปลือกหอยจะประกอบด้วยสารจากพวกแคลเซียมคาร์บอเนตมากถึงร้อยละ 95-99 และมีโปรตีนเป็นสารเชื่อมต่อประมาณร้อยละ 0.1-5.0 โดยน้ำหนัก โดยเปลือกหอยจะมีชั้นผนึกแคลเซียมคาร์บอเนต (Prismatic layer) ซึ่งเป็นชั้นที่แข็งแรงที่สุดประกอบด้วยสารประกอบ แคลเซียมคาร์บอเนตส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของแคลไซต์ แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นสารที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่ละลายน้ำ มีสมบัติเฉพาะ ไม่เป็นพิษ และมีความเสถี่ยรทางเคมี จึงนิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นตัวเติม (Filter) ในอุตสาหกรรมพลาสติก ยาง กระดาษ และสีแคลเซียมคาร์บอเนตยังใช้เป็นสารที่ควบคุมในการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและวัตถุที่ทำจากเหล็ก แคลเซียมคาร์บอเนตมีโครงสร้างผลึก 3 แบบคือ แคลไซต์ (Calcite) อะราโกไนต์ (Aragonite) และวาเทอร์ไรต์ (Vaterite) ซึ่งแคลไซต์เป็นโครงสร้างผลึกที่เสถี่ยรที่สุดและวาเทอร์ไรต์จะมีความเสถี่ยรน้อยที่สุด เมื่อแคลเซียมคาร์บอเนตได้รับความร้อนสูงจนถึงจุดที่สามารถหลอมละลายจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกไซด์ซึ่งจะสามารถดูดความชื้นในอากาศได้ดีและยังสามารถเปลี่ยนเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์ได้ โดยวัฏจักรของแคลเซียมคาร์บอเนตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป
ภาพที่ 2 วัฎจักรของแคลเซียมคาร์บอเนต ที่มา : สุภกร (2558)