ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่องห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมี 4 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติที่มีข้อบังคับหากมีการฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
สารป้งกันแงแดดสามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ประกอด้วยกลุ่ม
1. กลุ่มสารดูดซับแสง (Chemical sunscreen) ทำหน้าที่ดูดซับแสงแดดไม่ให้ผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนัง เป็นผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ (เนื้อครีมจะเป็นข้น ๆ น้ำนมเหมือนเนื้อครีมทั่วไป ซึมซับ ได้ง่าย) ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็จะเสื่อมสภาพ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องทาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง สารป้องกันแดดประเภทนี้บางชนิดจะดูดซับได้เฉพาะรังสี UVA หรือ UVB หรือทั้ง UVA และUVB สารเคมีที่ใช้ผสมในครีมกันแดด คือ Panimate O, Bensophenone, Cinnamates, Antranilate, Homosalate และ Oxybenzene ซึ่งผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีส่วนผสมของ สารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะกับคนที่มีผิว แพ้ง่าย
2. กลุ่มสารสะท้อนแสง (Physical sunscreen หรือ Inorganic sunscreen) ทำหน้าที่เคลือบบนผิวเพื่อสะท้อนแสงแดด ประสิทธิภาพของการป้องกันสงแดดขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคและประเภทของผลิตภัณฑ์ โดยจะมีส่วนผสมของสารที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และUVB ที่ตกกระทบให้ออกไปจากผิวหนังได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทนี้คือจะไม่สามารถให้ค่า SPF ที่สูงได้ เนื้อครีมจะไม่ละเอียดมากนัก คล้ายกับมีแป้งผสมเพราะเป็นเหมือนรองพื้นในตัวได้ด้วย และเมื่อนำมาทาบนผิวหนังแล้วจะทำให้ดูวอกหรือดูขาวมากจนเกินไป (เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบนเพื่อรอแสงมากระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย) อีกทั้งยังล้างออกได้ยากอีกด้วย
3. กลุ่มที่เป็นแบบผสม (Organic particulates) : เป็นแบบผสมที่ช่วยเสริมข้อดีและลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารเคมี ลดความขาว เมื่อทาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด และช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
ค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดด หรือ SPF (Sun Protection Factor)
คือ ค่าความสามารถในการป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตตามประกาศคณะกรรมการ เครื่องสำอาง ตามราชกิจจานุเบกษาเรื่อง การแสดงค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดดของเครื่องสำอางที่มีสารกันแดด พ.ศ. 2560 ได้อธิบายความหมายของคำว่า SPF UVAPF และ PA ดังนี้
1) Sun Protection Factor หรือ SPF ให้หมายความว่าค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีบี จากการทดลองของ Northwestern School of Law and Department of Physics, Lewis & Clark College ประเทศโปแลนด์ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 50 มีร้อยละการดูดซับรังสียูวีบีแตกต่างจากค่า SPF 30 เพียงร้อยละ 1.3 ดังนั้น การระบุค่า SPF สูงดังกล่าว อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถป้องกันแสงแดดได้เพิ่มและยาวนานขึ้นมากกว่ามาก (คณะกรรมการเครื่องสำอาง,2560) โดยค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีบี จะแสดงระดับประสิทธิภาพได้ดังแสดงในตารางที่ 2
PFA (protection factor of UV-A)
คือ ค่าที่วัดประสิทธิภาพในการป้องกันอาการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากรังสี UV-A โดยสัญลักษณ์ในการแสดงระดับของประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-A ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละประเทศ ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ระดับประสิทธิของค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวี
ระดับของประสิทธิภาพ | ค่า SPF (ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UV-B) | ค่าดูดซับรังสี UV-B (%) | ค่า PFA | ค่า SPF | UV-A rating | |
ระดับของประสิทธิภาพ | ค่า SPF | Japanese | US | |||
ป้องกัน UV-A ต่ำ | ตั้งแต่ 6 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 15 (6 หรือมากกว่า แต่ไม่เกิน 15) | 50-93 | 2-<4 | 2-15 | PA+ | * |
ป้องกัน UV-กลาง | 93-96 | <4 < 8 | 15-30 | PA++ | ** | |
ป้องกัน UV-สูง | 96-98 | > 8 | 30-50 | PA+++ | *** |
ที่มา คณะกรรมการเครื่องสำอาง,2560
หมายเหตุ ค่า PFA < 2 = ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน UV-A
2) Ultraviolet a Protection factor หรือ UVAPF หมายความว่า ค่าที่แสดง ถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากสัมผัสรังสียูวีเอ
3) Protection grade of UVA หรือ PA หมายความว่า ค่าที่สมาคม อุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Cosmetic Industry Association, JCIA) ได้ กำหนดขึ้นแทนการใช้ค่า UVAPF
PAหรือ Protection grade of UVA
PA หรือ Protection grade of UVA หมายถึง ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Cosmetic Industry Association, JCIA, 1996) ได้กำหนดขึ้น แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันอาการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีเอ โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) แสดงระดับของประสิทธิภาพได้ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 แสดงระดับของประสิทธิภาพ PA
ระดับ | ค่า PA |
พอใช้ | PA+ |
สูง | PA++ |
สูงมาก | PA+++ |
ที่มา คณะกรรมการเครื่องสำอาง,2560
การแสดงค่าความสามารถในการกันน้ำ
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดดที่ต้องการแสดงข้อความค่าความสามารถในการกันน้ำ ต้องผ่านการทดสอบโดยวิธีตามมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับ และสามารถระบุข้อความแสดงความสามารถในการ กันน้ำได้ดังแสดงในตารางที่ 4
ระดับของประสิทธิภาพ | การแสดงค่าความสามารถในการกันน้ำ |
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดดที่ผ่านการทดสอบกันน้ำรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา ๔๐ นาที | Water resistance หรือ Water resistance (40) |
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด ที่ผ่านการทดสอบกันน้ำรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา ๘๐ นาที | Very water resistance หรือVery water resistance (80 |
ที่มา คณะกรรมการเครื่องสำอาง,2560